Blog

ติดตั้งโซล่าเซลล์

โซล่าเซลล์ หรือ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ คือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแสงแดดให้กลายเป็นไฟฟ้า เป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าในระยะยาว เหมาะสำหรับทั้งบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยการลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่ให้ผลตอบแทนต่อเนื่องกว่า 25 ปี

โซล่าเซลล์ คือ อะไร

        โซล่าเซลล์ หรือ “เซลล์แสงอาทิตย์” คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนพลังงานแสง (โฟตอน) ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงผ่านปรากฏการณ์ โฟโตวอลเทอิก (Photovoltaic Effect)  ทำงานโดยการดูดซับแสงอาทิตย์ด้วยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ เช่น ซิลิคอน เมื่อลำแสงจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับวัสดุเซมิคอนดักเตอร์นี้ จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนภายในวัสดุ ซึ่งสร้างกระแสไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้งานได้ พูดง่าย ๆ คือแสงแดดตกกระทบแล้วถูกเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ทันที ไม่ต้องมีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารูปแบบอื่น

หลักการทำงานของโซล่าเซลล์

  1. โครงสร้างสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor Junction) แผ่นบาง ๆ ที่ประกอบด้วยซิลิคอนชนิด p-type และ n-type เมื่อประกบกันจะเกิดชั้นรอยต่อ (p-n junction)
  1. รับแสง
    โฟตอนจากแสงอาทิตย์กระทบชั้นซิลิคอน ทำให้อะตอมสูญเสีย/รับอิเล็กตรอน เกิดคู่อิเล็กตรอน-โฮล (electron–hole pair)
  2. สร้างแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage)
    รอยต่อ p-n ทำหน้าที่แยกประจุบวก/ลบออกจากกัน เกิดแรงดันประมาณ 0.5–0.7 โวลต์ต่อเซลล์
  3. จ่ายไฟฟ้าแบบ DC
    ต่อเซลล์หลาย ๆ ตัวเป็นแผง (Module) เพื่อเพิ่มแรงดัน/กระแส แล้วอินเวอร์เตอร์จะเปลี่ยน DC เป็น AC สำหรับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือขายเข้าระบบไฟฟ้า

ชนิดของแผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ

1.แผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์(Monocrystalline Solar Colls)

        ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si)สังเกตค่อนข้างง่าย เพราะจะเห็นแต่ละเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้มคว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่น

  • มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจากซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 19-23%
  • มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
  • มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป

2 .แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์(Polycrystalline Solar Colls)

        เป็นแผงโซลาร์ชลล์ชนิดแรก ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุมสีของแผงจะออก น้ำเงิน ไม่เข้มมาก

  • มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
  • มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์
  •  มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 13-18%

3. แผงโซลาร์เซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Colls)

        คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังานจากแสง เป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ

ช้อนกันหลายๆชั้น

  • มีประสิทธิภาพในการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาฉาบ
  • แผงโซล่าเซลล์มีราคาถูกที่สุด เพราะสามารถผลิต จำนวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน
  • แผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพต่ำ
  • สิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ
  • ไม่เหมาะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน และโรงงาน
  • การรับประกันสั้นกว่าชนิด ผลึกซิลิคอน

5 ข้อควรรู้ ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์

  1. ควรวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ไฟก่อนติดตั้ง เพื่อให้ระบบโซล่า “ออกแบบได้ตรงจุด คุ้มทุนไว ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ” ผู้ติดตั้งควรขอข้อมูล เช่น
  • ใบแจ้งค่าไฟ 12 เดือนย้อนหลัง
  • ตารางเวลาการใช้งานอาคาร
  • รายการอุปกรณ์ไฟฟ้าหลัก
  • ความต้องการในอนาคต เช่น ขยายกิจการ
  1. ลงทุนโซลาร์เซลล์ มี 2 แบบ
  • EPC EPC คือการให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบเบ็ดเสร็จ (Turn-Key) ทั้งด้านการออกแบบทางวิศวกรรม การติดตั้งโครงสร้างระบบโซล่าเซลล์ หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทางบริษัทลูกค้าเป็นผู้ลงทุนระบบเอง การขออนุญาตโครงการ ในรูปแบบของ on grid , Hybrid หรือ Off grid ตามแต่ที่ตกลงกัน 
  • PPA เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ PPA ถือเป็นโมเดลพลังงานแบบใหม่ที่เพิ่มอำนาจให้กับภาคธุรกิจหรือบริษัทที่ต้องการผลิตไฟฟ้าจากระบบโซล่าไว้ใช้เอง แต่ไม่ได้ต้องการลงทุนตัวระบบฯ ด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีบริษัทผู้ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์จะเป็นผู้ลงทุนให้ ทั้งในตัวอุปกรณ์ การติดตั้ง รวมถึงการดูแลรักษาระบบฯ ให้ฟรีทั้งหมด โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการโมเดลนี้จะจ่ายแค่เพียงไฟฟ้า (ที่ผลิตจากแผงโซลาร์) เป็นรายเดือนตามระยะสัญญาต่อกันเพียงเท่านั้น โดยอัตราไฟฟ้าจะคิดตามหน่วยที่ใช้ในอัตราต่อหน่วยต่ำกว่าการไฟฟ้า
  1. ระบบโซลาร์เซลล์มี 3 แบบ
  • ระบบออนกริด (On Grid) คือ ระบบ Solar Cell ที่ขนานกับการไฟฟ้า ไม่ว่าจะ MEA หรือ PEA ตามเขตพื้นที่ ล้วนต้องมีการขออนุญาตเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้าทั้งสิ้น ข้อดีคือ ราคาระบบฯ ไม่สูงเท่า ระบบออฟกริด และสามารถผลิตไฟฟ้าในตอนกลางวันในช่วงที่มีแสง ทำให้ลดค่าไฟช่วง Peak ได้จำนวนมาก ส่วนช่วงเวลาที่หมดแสงแล้ว สามารถดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ได้ปกติ ซึ่งในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงหรือในช่วง Off-peak โดยส่วนใหญ่ค่าไฟฟ้าจะถูกกว่าตอนกลางวัน หรือ ช่วง Peak นั่นเอง
  • ระบบออฟกริด (Off Grid) คือ ระบบ solar cell ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ส่วนไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และนำมาใช้งานเมื่อเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปริมาณความจุของแบตเตอรี่ (จำนวนลูกแบตเตอรี่) จะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง เป็นระบบที่มีราคาสูงกว่า ระบบออนกริด เนื่องจากแบตเตอรี่มีราคาแพง และคาดการเวลาเสื่อมสภาพได้ยาก เหมาะสำหรับติดตั้งในจุดที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
  • ระบบไฮบริดส์ ( Hybrid )  คือ ระบบแบบผสม ที่นำเอา ระบบออนกริด และ ออฟกริด มารวมกันโดยจะมีระบบแบตเตอรี่ มาสำรองพลังงานใช้ในเวลาที่ไม่มีแสง สำหรับกรณีที่เมื่อมีแสงอาทิตย์แล้วผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่าที่นำมาใช้งาน ระบบก็นำกระแสไฟฟ้านั้นชาร์จเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำมาใช้งานได้ต่อไป ซึ่งสำหรับระบบไฮบริดส์ ก็ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าเช่นเดียวกัน ปัจจุเริ่มเป็นที่นิยม
  1. เช็กสถานที่ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ 

ก่อนการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคารพาณิชย์ หรือโรงงาน สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ เนื่องจากลักษณะของพื้นที่ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า เช่น ขนาดพื้นที่บนหลังคา ทิศทาง แสงแดด และสภาพแวดล้อมโดยรอบ

พื้นที่ติดตั้งควรมีขนาดเพียงพอสำหรับวางแผงโซลาร์ในจำนวนที่เหมาะสมกับความต้องการใช้ไฟ โดยทั่วไปการติดตั้งบนหลังคาต้องมีโครงสร้างแข็งแรงพอรับน้ำหนักได้ หากเป็นอาคารเก่า อาจต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างโดยวิศวกรก่อน นอกจากนี้ “ทิศทาง” ของหลังคาก็มีผลอย่างมาก โดยทิศใต้จะรับแดดได้ดีที่สุดตลอดวัน รองลงมาคือทิศตะวันตกและตะวันออก ส่วนทิศเหนือมักไม่เหมาะเพราะรับแสงได้น้อย

อีกประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องของ “เงาบดบัง” ไม่ว่าจะเป็นจากต้นไม้ ตึกข้างเคียง หรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หากมีเงาทับแผงแม้เพียงบางส่วน ก็อาจลดกำลังการผลิตของทั้งระบบได้มากกว่าที่คาด

สุดท้าย ควรตรวจสอบทางเข้า-ออก และพื้นที่สำหรับจัดวางอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น อินเวอร์เตอร์ ตู้ควบคุมสายไฟ และพื้นที่สำหรับการซ่อมบำรุงในอนาคต เพื่อให้ทีมช่างสามารถเข้าถึงและดูแลรักษาระบบได้สะดวก

  1. การเลือกบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์

5.1 ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมา

  • ตรวจสอบว่าเคยติดตั้งมาแล้วกี่ระบบ
  • มีลูกค้าจริง รีวิวดี มีภาพหน้างานหรือไม่
  • มีประสบการณ์ในระบบที่คุณต้องการหรือเปล่า (On-Grid, Off-Grid, Hybrid, PPA ฯลฯ)

5.2 คุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้

  • ใช้แผงและอินเวอร์เตอร์แบรนด์ที่ได้รับมาตรฐานสากล (IEC, TIS, CE)
  • มีการรับประกันสินค้า เช่น แผง 25 ปี, อินเวอร์เตอร์ 5–10 ปี

5.3 มาตรฐานการติดตั้ง

  • มีทีมงานที่ผ่านการอบรม มีวิศวกรควบคุม
  • ติดตั้งตามหลักความปลอดภัย และมีระบบสายดินครบถ้วน

5.4 บริการหลังการขาย

  • มีทีมช่างพร้อมเข้าหน้างานหากระบบมีปัญหา
  • มีการตรวจสอบระบบประจำปีหรือบริการเช็กระยะ
  • มีเงื่อนไขรับประกันงานติดตั้งที่ชัดเจน

5.5 เป็นบริษัทที่ให้บริการแบบครบวงจร

  • ดำเนินการตั้งแต่สำรวจ ออกแบบ ขออนุญาต และติดตั้ง
  • ลดภาระผู้ใช้งานในการประสานงานหลายฝ่าย

5.6 ความโปร่งใสของใบเสนอราคา

  • ระบุรุ่นอุปกรณ์ ชื่อแบรนด์ จำนวนหน่วย และรายละเอียดให้ชัดเจน
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝงเพิ่มเติมภายหลัง

5.7 มีการจดทะเบียนถูกต้องและน่าเชื่อถือ

  • ควรเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • มีสำนักงานใหญ่ หรือที่อยู่ติดต่อชัดเจน

ขั้นตอนการติดตั้งโซล่าเซลล์

  1. ปรึกษาและขอคำแนะนำเบื้องต้น
    พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความต้องการ ใช้ไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน เหมาะกับระบบแบบใด (On-Grid, Off-Grid หรือ Hybrid) และงบประมาณเบื้องต้น
  2. สำรวจหน้างานและวิเคราะห์โครงสร้าง
    ทีมงานเข้าสำรวจสถานที่จริง เช่น ตรวจสอบหลังคา ทิศทางแสง พื้นที่ติดตั้ง และโครงสร้างอาคาร เพื่อดูความเหมาะสมและความปลอดภัย
  3. ออกแบบทางวิศวกรรม
    วิศวกรจะออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมกับพื้นที่และการใช้งาน รวมถึงระบุจำนวนแผง อินเวอร์เตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  4. วิเคราะห์จุดคุ้มทุน (ROI)
    ประเมินต้นทุนและเปรียบเทียบกับค่าไฟที่จะประหยัดได้ในระยะยาว เพื่อให้เห็นภาพว่าใช้เวลากี่ปีระบบถึงจะคืนทุน และกำไรต่อหลังจากนั้น
  5. เซ็นสัญญา
    เมื่อพิจารณาข้อเสนอและพึงพอใจในเงื่อนไข จะเข้าสู่ขั้นตอนการเซ็นสัญญาและเริ่มต้นการดำเนินการติดตั้ง
  6. ดำเนินการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บริษัทผู้ติดตั้งจะดำเนินการยื่นเอกสารขออนุญาตการไฟฟ้า (MEA/PEA) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามขั้นตอนราชการ

  1. บำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์รายปี
    ทีมงานติดตั้งระบบและทดสอบให้พร้อมใช้งาน พร้อมบริการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของระบบ

ติดตั้งโซล่าเซลล์ ราคาเท่าไร

        ราคาการติดตั้ง โซล่าเซลล์ จะแตกต่างกันไปตามขนาดระบบ (กิโลวัตต์), ประเภทอุปกรณ์ และสถานที่ติดตั้ง เช่น โซล่าฟาร์ม, โซล่าลอยน้ำ เป็นต้น และก็จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการติดตั้งอีกด้วย ณ ปัจจุบันราคาก็ถือว่าราคาถูกลงมาเยอะมาก แถมยังคืนทุนได้ไว้ใน 3-5 ปีอีกด้วย

สรุป

ปัจจุบันการติดตั้งโซลาร์เซลล์มีต้นทุนที่ลดลงมาก พร้อมทั้งสามารถคืนทุนได้ภายใน 3–5 ปี จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายโรงงาน โดยเฉพาะเมื่อราคาแบตเตอรี่ลดลง จึงทำให้หลายโรงงานตัดสินใจลงทุน แต่อย่าลืมสิ่งสำคัญนั่นก็คือ ระบบโซล่าเซลล์ต้องอยู่กับเราถึง 25 ปี ดังนั้นการเลือกบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ดังนั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญ Solar PPM ตอบโจทย์ทุกเรื่องโซล่าเซลล์

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า