Blog

Solar Floating ช่วยผลิตไฟฟ้าใช้ได้เพียงพอต่อเมืองหลายพันเมืองทั่วโลก

solar floating

เมืองหลายพันทั่วโลกสามารถจ่ายไฟให้ตัวเองได้ทั้งหมดด้วยแผงโซลาร์เซลล์ที่ลอยอยู่บนอ่างเก็บน้ำ หรือก็คือ Solar Floating ตามการวิจัยใหม่ เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่ายในการสร้างพลังงานหมุนเวียนในท้องถิ่น และในขณะเดียวกันก็ช่วยในการประหยัดน้ำได้อีกด้วย

แผงโซลาร์เซลล์ที่ลอยอยู่เหนือน้ำหรือ Floatovoltaics ทำงานคล้ายกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนบก แต่แผงโซลาร์เซลล์จะวางอยู่บนแพ แทนที่จะวางบนลานจอดรถ บนหลังคา หรือแบบมีที่ยึดบนดินอื่นๆ และ Solar Floating ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ในหลายๆแห่งทั่วโลก รวมถึงผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ของโซลาร์ฟาร์มทั่วโลกในปี 2020

ณ ตอนนี้ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Sustainability  แสดงให้เห็นว่าเมืองที่มีศักยภาพจำนวนหลายเมือง สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่นี้ได้

นักวิจัยพบว่ากว่า 6,256 เมืองใน 124 ประเทศ สามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอต่อการใช้งาน จากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งในอ่างเก็บน้ำใกล้ๆตัวเมือง เพียงแต่ต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ (Floatovoltaics) โดยใช้พื้นที่ 30% ของพื้นผิวน้ำทั้งหมด

โดยนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งเก็บน้ำทั่วโลกจำนวน 114,555 แห่งเป็นฐานข้อมูล จากนั้นสร้างแบบจำลองการผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศที่มีความสมจริง

และเนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำทั้งหมดจะช่วยปิดกั้นแสงแดดได้มากพอที่จะลดการระเหยของน้ำได้ นักวิจัยจึงคาดการณ์การประหยัดน้ำได้มากถึง 300 ล้านคน/ปี (หรือประมาณ 106 ลูกบาศก์กิโลเมตรต่อปี) ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างน่าเหลือเชื่อ จากปัญหาความแห้งแล้งที่เลวร้ายลง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ทำให้อ่างเก็บน้ำแห้ง

อันที่จริงแล้ว ถ้าพูดถึงปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างรวดเร็วคือปัญหาโลกร้อน การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างยิ่ง  ภัยแล้งทำให้การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลดลง และคลืื่นความร้อนยังา่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าบนหลังคาได้ถึง 25 % นั่นหมายความว่าเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ไม่มากนัก 

 

แต่ถ้าเป็น solar Floating 

น้ำมีฤทธิ์เย็นช่วยป้องกันแผงโซลาร์เซลล์จากความร้อนที่มากเกินไปได้

นอกจากนี้หาก solar Floating และเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำทำงานควบคู่กัน จะช่วยเพิ่มการผลิตไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนที่ผู้คนต้องการการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้นได้

และยังมีประโยชน์เชิงปฏิบัติอื่นๆอีกด้วย เช่น พื้นดินนั้นพื้นที่ที่จะสร้างโซลาร์ฟาร์มยังมีการแข่งขันเพื่อนำไปใช้ทำอย่างอื่น ทั้งด้านการเกษตรและที่อยู่อาศัย 

แต่ solar Floating สามารถหลีกเลี่ยงข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้

เพื่อให้เกิดความมั่นใจ นักวิจัยยังคงต้องประเมินแหล่งกักเก็บน้ำแต่ละแห่งเพื่อขจัดผลกระทบด้านลบ เช่น การวางแผงโซลาร์เซลล์มากเกินไปอาจส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำลดลง ซึ่งอาจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้ การสร้างแหล่งเก็บน้ำเทียมแทนที่แหล่งน้ำธรรมชาติอาจจะเป็นทางเลือกที่ทำให้เกิดความเสียหายน้อยกว่า งานวิจัยระบุ

การวิจัยยังพบว่าศักยภาพของ solar Floating จะใช้ได้ผลดีกับเมืองใกล้ๆแหล่งกักเก็บน้ำ ซึ่งมีประชากรน้อยกว่า 50,000 คน คล้ายกับเมืองเบอร์ลิงตัน  เวอร์มอนต์ หรือแฮร์ริสเบิร์ก เพนซิลเวเนีย มีเพียงร้อยละ 15 ของเมืองซึ่งมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน ที่สามารถใช้ไฟได้เพียงพอต่อความต้องการด้วยโซลาร์เซลล์ลอยน้ำเท่านั้น

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีแหล่งกักเก็บน้ำเหมาะสมที่สุด รองลงมาเป็นจีนและบราซิล

 โครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ (solar Floating ) เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว เช่น โครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำของกองทัพสหรัฐฯ  เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2022 ณ Fort Bragg ในนอร์ทแคโรไลนา

ในขณะที่ในเอเชีย การติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ (solar Floating) เป็นที่นิยมค่อนข้างสูง เช่น ในเกาหลีใต้มีแผงโซลาร์เซลล์มากกว่า 92,000 แผงที่ทำเป็นรูปดอกบ๊วยลอยอยู่บนยอดอ่างเก็บน้ำยาว 12 ไมล์ในมณฑลฮับชอน หรือมณฑลซานตงในประเทศจีน ที่มีหนึ่งในแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ที่มา : the verg

 

n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save