Blog

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อภาคธุรกิจ

ในยุคที่ปัญหาโลกร้อนและสภาวะอากาศแปรปรวนทวีความรุนแรงมากขึ้น “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” (Carbon Footprint) กลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงบ่อยในแวดวงสิ่งแวดล้อมและธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน แต่คาร์บอนฟุตพริ้นท์คืออะไร? มีผลต่อโลกอย่างไร? และเราจะลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้อย่างไรบ้าง? มาหาคำตอบกันในบทความนี้

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร?

        คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด (โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ – CO₂) ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้า การเดินทาง การใช้พลังงาน หรือแม้กระทั่งการบริโภคอาหาร วัดออกมาเป็นหน่วย “กิโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO₂e)”

ยิ่งเรามีกิจกรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิลมาก เช่น ขับรถ ใช้ไฟจากถ่านหิน หรือบินบ่อยเท่าไหร่ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเราก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น

ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ (39)

วิธีคำนวณ Carbon Footprint

ในระดับสากล ได้กำหนดมาตรฐาน ISO 14064-1 มีการกำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและคำนวณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรใน และ มาตรฐาน ISO 14067 มีการกำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและคำนวณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์สูตรการคำนวณ (อย่างง่าย) คือ GHG emission = Activity data + Emission factor

สูตรการคำนวณโดยทั่วไปคือ: ปริมาณก๊าซเรือนกระจก = ข้อมูลกิจกรรม x ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ตัวอย่างของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน

  • ขับรถยนต์ส่วนตัว 1 กม. = ปล่อย CO₂ ประมาณ 0.2 กก.
  • ใช้ไฟฟ้า 1 หน่วย (kWh) จากถ่านหิน = ปล่อย CO₂ ประมาณ 0.9 กก.
  • กินเนื้อวัว 1 กก. = ปล่อย CO₂ ประมาณ 27 กก.

ทำไมคาร์บอนฟุตพริ้นท์ถึงสำคัญ?

        การวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ช่วยให้เรา ตระหนักถึงผลกระทบของพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน หากทุกคนร่วมมือกันลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ก็จะช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้

        และภาครัฐก็ได้ให้การสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่ Net Zero และปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยเกินออกมาจะต้องนำมาเสียภาษีคาร์บอน


วิธีลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ง่าย ๆ

  1. เลือกใช้พลังงานสะอาด เช่น ติดตั้งโซล่าเซลล์
  2. ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หันมาใช้ขนส่งสาธารณะ หรือขี่จักรยาน
  3. ลดขยะ โดยเฉพาะพลาสติก และหันมาใช้ของที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้
  4. บริโภคอย่างยั่งยืน ลดการกินเนื้อสัตว์ และเลือกซื้อสินค้าท้องถิ่น
  5. ปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยดูดซับ CO₂

ธุรกิจยุคใหม่ก็ต้องใส่ใจคาร์บอนฟุตพริ้นท์

        หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับการวัดและลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสินค้าและบริการ เพราะผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การติดฉลากคาร์บอน (Carbon Label) หรือการตั้งเป้าหมาย Net Zero Carbon ในอนาคต


สรุป

        คาร์บอนฟุตพริ้นท์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะทุกกิจกรรมของเราล้วนส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม การเริ่มต้นจากการเข้าใจและลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์เล็ก ๆ ในองค์ก็ช่วยในเรื่องของภาษี ในชีวิตประจำวัน สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และสังคม

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า