Blog

ก้าวต่อไปของ CLEAN ENERGY – โซลาร์เซลล์ผลิตแสงจากอวกาศ

ผลิตไฟฟ้าจากอวกาศ

โซลาร์เซลล์ผลิตแสงจากอวกาศ ช่วยผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง

บริษัทในอังกฤษ เผยแนวคิดการผลิตพลังงานแนวใหม่ด้วยการใช้เทคโนโลยีเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์บนอวกาศ เพื่อใช้ผลิตพลังงานส่งกลับมาให้โลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง

โดย บริษัท สเปซ โซลาร์ (Space Solar) ได้พัฒนาวิธีการผลิตพลังงานให้ชื่อว่า แคสซิโอเปีย (CASSIOPeiA) ซึ่งจะใช้แผงโซลาร์เซลล์ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแผงโซลาร์เซลล์แบบที่ใช้บนโลก ส่งขึ้นไปลอยอยู่ในวงโคจร 

แผงโซลาร์เซลล์นี้ จะรับแสงอาทิตย์ และแปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า และมีอุปกรณ์สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้าให้อยู่ในรูปแบบของคลื่นไมโครเวฟ ส่งจากอวกาศ ไปยังสถานีบนโลก ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายท้องถิ่น

ทั้งนี้บริษัทได้ทำการสาธิตแนวคิดหลักของเทคโนโลยีนี้ในระดับเล็ก ซึ่งก็คือความสามารถในการบังคับทิศทางลำคลื่นไมโครเวฟจากดาวเทียมค้างฟ้า ด้วยการใช้ตัวสาธิตที่ชื่อว่า แฮร์ริเออร์ (Harrier) ซึ่งจะทำการหมุนรอบตัวเองเพื่อให้มันหันเข้าหาดวงอาทิตย์ตลอดเวลา และทดลองส่งพลังงานไร้สายไปยังเครื่องรับที่เชื่อมต่อกับหลอดไฟ LED เพื่อพิสูจน์ว่าได้รับไฟฟ้าจริง

ซึ่งบริษัทเชื่อว่า วิธีการผลิตไฟฟ้า ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในอวกาศ จะช่วยให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงตลอดทั้งปี และมีข้อดีคือ ไม่ต้องหยุดทำงานในเวลากลางคืน ไม่ต้องกลัวว่าเมฆจะบังแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิต ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ๆของการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าบนโลกในปัจจุบันนี้

ทั้งนี้ มาร์ติน โซลเทา (Martin Soltau) ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของบริษัทยังกล่าวว่า วิธีการที่บริษัทพัฒนาขึ้น ทำให้โครงข่าย ได้รับพลังงานไฟฟ้าต่อเนื่องทั้งกลางวันและกลางคืน อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังนิวเคลียร์ และยังสร้างพลังงานได้มากกว่าแผงโซลาร์เซลล์บนโลก 13 เท่า 

อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ คาลเทค (Caltech) หรือสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ก็ได้ประสบความสำเร็จในการลองใช้ยานอวกาศสาธิตพลังงานแสงอาทิตย์ ส่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ในอวกาศกลับมายังพื้นผิวโลก ในการทดลองชื่อว่า มาเปิล (MAPLE)

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของแหล่งพลังงานทางเลือกที่ไม่จำเป็นต้องผลิตบนพื้นโลก และยังใช้งานได้จริง และอาจจะกลายมาเป็นกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบใหม่ในอนาคต

 

n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save