แผงโซลาร์เซลล์ มาตรฐาน มอก. แตกต่างจากแผงโซลาร์เซลล์อื่นๆ อย่างไร ?
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญทางด้านพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดตามเทรนด์รักษ์โลกกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากพลังงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกหลักที่ทั่วโลกเลือกใช้และมีต้นทุนในการผลิตพลังงานที่ราคาถูกที่สุดในปัจจุบัน
หนึ่งในอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดของระบบโซลาร์เซลล์นั้นก็คือ ตัวแผงโซลาร์นั้นเอง วันนี้ทางทีมงาน Solar PPM จะพาทุกท่านไปรู้จักแผงโซลาร์เซลล์ ที่ได้รับมาตราฐาน มอก. ว่าคืออะไรและมีความสำคัญในการนำไปใช้ในประเภทงานใดบ้าง
มอก. คืออะไร?
มอก.ย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” (Thai Industrial Standard) หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด สินค้าที่กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบัน ครอบคลุมสินค้าที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ยานพาหนะ, วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น สรุปคือต้องเป็นสินค้าที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา
แผงโซลาร์ มอก. ต่างจากแผงฯ อื่นๆ อย่างไร ?
แผงโซลาร์เซลล์ มอก. นั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกไซส์งานติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เหมือนแผงชนิดอื่นๆทั่วไปเลย ไม่ว่าจะเป็นงานเอกชนรวมถึงอาคารบ้านเรือนทั่วไป แต่จะมีความพิเศษเฉพาะสำหรับการติดตั้งงานภาครัฐในประเทศไทย ที่มักข้อกำหนดเฉพาะ(TOR) ระบุถึงคุณภาพและมาตรฐาน ว่าในการเข้าประมูลงานโครงการนั้นๆ จะต้องใช้แผงโซลาร์ที่ผ่านการรับรองมาตราฐานอุตสาหกรรม มอก. จากหน่วยงานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นต้น
ส่วนแผงโซลาร์ชนิดอื่นๆ เช่น แผงผลิตในไทย หรือแผงนำเข้าจากต่างประเทศ และแผง Tier 1 เป็นต้น ก็เป็นแผงโซลาร์ที่นิยมมาใช้งานโดยทั่วไปเหมือนกันตามความต้องการและงบประมาณของผู้ติดตั้ง แต่มีความแตกต่างตรงที่ว่าตัวแผงเหล่านั้นไม่ได้เป็นแผงโซลาร์ได้รับการรับรอง มอก. เพียงเท่านั้นเอง ดังนั้นในแง่การนำมาใช้ในภาครัฐไม่อาจจะนำมาใช้ได้นั้นเอง
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับแผงโซลาร์ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีไรบ้าง
โซลาร์เซลล์และส่วนประกอบจำเป็นต้องมีมาตรฐาน เพื่อควบคุมประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้านการใช้งาน โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ของไทย ซึ่งอุปกรณ์และส่วนประกอบทั้งภายในและภายนอกของแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะต้องผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัยพื้นฐานและการทดสอบเพิ่มเติมที่เป็นฟังก์ชั่นการใช้งานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ทั้งนี้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์หรือสินค้าโซลาร์เซลล์และส่วนประกอบที่ทาง สมอ. ได้มีการกำหนดให้มีการใช้งานในไทยนั้น มีทั้งมาตรฐานทั่วไป มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส และมาตรฐานสากล โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.มาตรฐานทั่วไป ตัวอย่างเช่น มอก. 2210-2555 (มอก. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ภาคพื้นดินชนิดฟิล์มบาง-คุณสมบัติการออกแบบและรับรองแบบ) มอก. 2606-2557 (มอก. ระบบเซลล์แสงอาทิตย์–ลักษณะของการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า) มอก.2607-2563 (มอก. อินเวอร์เตอร์ที่ใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่เชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ขั้นตอนการทดสอบระบบป้องกันการจ่ายไฟฟ้า ขณะไฟฟ้าดับ) เป็นต้น
2) มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.S) สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส ได้แก่ มอก. เอส 176-2564 สำหรับการให้บริการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมาตรฐานฉบับนี้จะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการจัดการคุณภาพการบริการเพื่อใช้ในการรับรองผู้ประกอบการและยกระดับการบริการให้มีคุณภาพที่ดี
3) มาตรฐานสากล ปัจจุบันหน่วยงานด้านมาตรฐานสากลอย่าง International Electro Committee (IEC) ได้มีการออกมาตรฐานเกี่ยวกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์และส่วนประกอบ เพื่อใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและประเมินผลทางด้านความปลอดภัยของเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมาตรฐานโซลาร์เซลล์ของ IEC ที่ทางสมอ. ได้นำมาปรับเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย (มอก.) เช่น 1) IEC 61515 Crystalline Silicon Terrestrial Photovoltaic (PV) Modules-Design Qualifcation and Type Approval หรือ มอก. 1843 2) IEC 61646 Thin-Film Terrestrail Photovoltaic (PV) ModulesDesign Qualification and Type Approval หรือ มอก. 2210 และ 3) การทดสอบมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า: ระบบจ่ายแรงดันไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตามมาตรฐาน IEC 60364-7-712 เป็นต้น
Credit : mreport.co.th
หากท่านข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผงโซลาร์เซลล์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ มารู้จักแผงโซลาร์ กันเถอะ
หรือสนใจเลือกซื้อแผงโซลาร์เซลล์ มอก. ของทาง Solar PPM ท่านสามารถเลือกชมสินค้าได้ที่ บริการของเรา หรือโทรศัพท์ : 02 628 6100 ต่อ 741 และโทรศัพท์มือถือ : 065 205 9873,084-296-4922