Blog

Private PPA กับความคุ้มค่า ลดค่าไฟให้ธุรกิจคุณ แบบไม่ต้องลงทุนเอง !!​

Private PPA กับความคุ้มค่า ลดค่าไฟให้ธุรกิจคุณ แบบไม่ต้องลงทุนเอง !!

ช่วงเวลานี้หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินรูปแบบการลงทุนตั้งระบบโซลาร์เซลล์ แบบ Private PPA กันมาพอสมควร แต่น้อยมากที่จะเข้าใจในถึงรายละเอียดของรูปแบบการลงทุนลักษณะโครงการนี้

Solar PPM จึงชวนผู้ประกอบการโรงงาน เจ้าของธุรกิจ และผู้ที่สนใจติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์มาทำความเข้าใจรูปแบบการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่ให้คุณแค่ลงทุน 0 บาท (ฟรี ไม่ต้องลงทุนเอง)

 

Private PPA” คืออะไร ลงทุน 0 บาท จริงหรือ?                                                                                                                                                   

โครงการ “Private PPA” โดยคำว่า PPA ย่อมาจาก Power Purchase Agreement เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ PPA ถือเป็นโมเดลพลังงานแบบใหม่ที่เพิ่มอำนาจให้กับภาคธุรกิจหรือบริษัทที่ต้องการผลิตไฟฟ้าจากระบบโซลาร์ไว้ใช้เอง แต่ไม่ได้ต้องการลงทุนตัวระบบฯ ด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีบริษัทผู้ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์จะเป็นผู้ลงทุนตัวอุปกรณ์ การติดตั้ง รวมถึงการดูแลรักษาระบบฯ ให้ฟรีทั้งหมด โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการโมเดลนี้จะจ่ายแค่เพียงไฟฟ้า (ที่ผลิตจากแผงโซลาร์) เป็นรายเดือนตามระยะสัญญาต่อกันเพียงเท่านั้น โดยอัตราไฟฟ้าจะคิดตามหน่วยที่ใช้ในอัตราต่อหน่วยต่ำกว่าการไฟฟ้า

 

ลดค่าไฟได้อย่างไร?

โครงการ “Private PPA” จะสามารถลดค่าไฟได้ด้วยการที่บริษัทซื้อไฟฟ้าจากระบบโซลาร์ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อไฟจากการไฟฟ้าฯ ซึ่งส่วนลดอาจมากถึง 40% จากอัตราค่าไฟปกติ โดยขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้า ขนาดของระบบที่ติดตั้ง และเทคนิคการติดตั้ง เป็นต้น เช่น ค่าไฟฐาน 4.18 บาท ค่าไฟจากโซลาร์ โดยมีส่วนลด 40% เท่ากับ 2.5 บาท 

                            

แล้วทางเจ้าของกิจการหรือบริษัทที่สนใจติดตั้ง ไม่ต้องลงทุนเองจริงหรือ?

ไม่ต้องลงทุนเองจริง เพราะบริษัทผู้ลงทุนที่ให้บริการระบบติดตั้งโซลาร์จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ทุกขั้นตอนตลอดอายุสัญญา โดยบริษัทผู้รับซื้อไฟฟ้า เพียงแค่ทำสัญญาเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากบริษัทผู้ลงทุนเท่านั้น และเมื่อหมดอายุสัญญา บริษัทจะได้ระบบโซลาร์ไปใช้ฟรี (ผู้ลงทุนยกกรรมสิทธิ์ของระบบฯให้)

 

Private PPA เหมาะกับภาคธุรกิจแบบไหน

1.ธุรกิจที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก และโหลดการใช้ไฟฟ้าค่อนข้างนิ่ง

2.บริษัทที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวน 6-7 วันต่อสัปดาห์

3.ธุรกิจที่ต้องการประหยัดไฟฟ้าในระยะยาว ไม่ต้องการความเสี่ยงในการลงทุน

 ซึ่งในการเข้าร่วมโครงการ Solar Private PPA นั้น ขึ้นอยู่กับ เงื่อนไข ที่บริษัทผู้ลงทุนให้กำหนด

 

n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save