CBAM คืออะไร?

CBAM คืออะไร

ทำความรู้จักกับ CBAM

CBAM ย่อมาจาก Carbon Border Adjustment Mechanism

“CBAM” คือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment) หนึ่งในมาตรการ

สำคัญภายใต้ Fit For 55 ซึ่งสหภาพยุโรปได้ประกาศใช้ภายใต้นโยบาย the European Green deal (พร้อม

ทั้งการบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ปี 2050) ล่าสุดรัฐสภายุโรปมีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย CBAM

(เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2566) และอยู่ระหว่างออกกฎหมายลำดับรอง โดยในช่วงแรกจะบังคับใช้ตั้งแต่

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2668 หรือที่เรียกว่า “ช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional

period)” นั่นหมายถึง ผู้นำเข้ามีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลปริมาณสินค้าที่นำเข้าและการปล่อยคาร์บอนใ น

กระบวนการผลิต (Embedded Emissions) และจะเริ่มบังคับให้ผู้นำเข้าต้องซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM

Certificate) ตามปริมาณจริงของการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2569

เป็นต้นไป

cbam

ปัจจุบันมีประเภทสินค้าที่อยู่ในขอบเขตของมาตรการ CBAM ทั้งสิ้น 7 รายการ ได้แก่ อะลูมิเนียม (Aluminium) เหล็กและเหล็กกล้า (Iron & Steel) ปูนซีเมนต์ (Cement) ปุ๋ย (Fertilizer) ไฟฟ้า (Electricity) ไฮโดรเจน (Hydrogen) และผลิตภัณฑ์ปลายน้ำอื่น ๆ (Other Downstream Products) และในอนาคตอันใกล้ได้มีการคาดการณ์ว่า จะกำหนดรวมเคมีภัณฑ์และพอลิเมอร์ (Organic Chemicals & Polymers) ให้อยู่ภายใต้มาตรการนี้ในช่วงปี 2026-2027 และในปี 2030 คาดการณ์ว่าจะครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์

ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?

1.ติดตามและปฏิบัติตามมาตรฐาน EU ด้านการปล่อยคาร์บอนและด้านสิ่งแวดล้อม

2.จัดเตรียมข้อมูลปริมาณคาร์บอนในกระบวนการผลิต

3.วางแผนการลดคาร์บอนอย่างยั่งยืน เช่น ใช้พลังงานสะอาดแทนพลังงานจากถ่านหิน ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ใช้ก๊าซชีวภาพ ฯลฯ