สหรัฐอเมริกา ขึ้นภาษีนำเข้า EV-แผงโซลาร์เซลล์นำเข้าจากจีน

สหรัฐแบนขึ้นภาษีแผงโซลาร์เซลล์

สหรัฐฯ ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนหลายรายการ คิดเป็นมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ อ้างปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

นับตั้งแต่ปีนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน จะขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าของจีน 4 เท่า จาก 25% เป็น 100% ขณะที่ภาษีนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์จากจีนจะปรับขึ้น 2 เท่าจาก 25% เป็น 50% ส่วนภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมที่นำเข้าจากจีนจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า จาก 7.5% ในปัจจุบัน เป็น 25%

ประธานาธิบดีไบเดนยังสั่งให้ แคเธอรีน ไท ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับการใช้งานอื่น ๆ 3 เท่า

รวมถึงปรับขึ้นภาษีนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์จากจีน จาก 25% เป็น 50% ตั้งแต่ปี 2025 นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ จากจีนที่สหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้าเป็นครั้งแรกด้วย ได้แก่ เข็มและกระบอกฉีดยาทางการแพทย์ และเครนยกขนตู้สินค้าหน้าท่า ขณะที่ถุงมือยาง เครื่องช่วยหายใจ และหน้ากากอนามัยบางรุ่น จะถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้ ทำเนียบขาวสหรัฐฯ ระบุว่า สินค้าบางรายการ เช่น แบตเตอรี่ และแกรไฟต์ธรรมชาติ จะมีระยะเวลาเริ่มบังคับใช้ภาษีอัตราใหม่ที่นานกว่า เพื่อให้เวลาภาคการผลิตของสหรัฐฯ เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตจนถึงจุดที่สามารถผลิตแบตเตอร์รี่ในประเทศได้มากพอที่จะรองรับกับความต้องการของผู้บริโภค

เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า “จีนกำลังผลิตสินค้าในอัตราที่เกินความต้องการทั่วโลกไปมาก ซึ่งนั่นจะทำให้ตลาดโลกเต็มไปด้วยสินค้าที่ราคาต่ำกว่าที่สหรัฐฯ จะผลิตได้ และทำให้ทั่วโลกเสี่ยงที่จะถูกบีบบังคับทางเศรษฐกิจมากขึ้น”

ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการอุดหนุนภาคอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดของจีน โดยเชื่อว่า การอุดหนุนของรัฐบาลปักกิ่งส่งเสริมให้หลายบริษัทผลิตสินค้าพลังงานสะอาด เช่น แผงโซลาร์เซลล์และรถยนต์ไฟฟ้า ได้ในราคาถูกและเกินความต้องการในประเทศ

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เตือนว่า ถ้าบริษัทเหล่านี้ไม่ขายสินค้าที่ผลิตเกินในประเทศ สินค้าเหล่านั้นก็จะลงเอยในตลาดโลก และทำให้อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดในประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น แข่งขันได้ยาก

         ผลจากการที่สหรัฐอเมริกาแบนจีน จึงทำให้จีนเบนเข็มมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศไทย แผงโซลาร์เซลล์จึงปรับราคาถูกลง และล้นตลาด ส่งผลต่อการแข่งขันของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะแผงโซลาร์เซลล์ไทย ที่แข่งขันได้ยากขึ้นเช่นเดียวกับกรณีของสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ต้องรู้ดูแนวทางการแก้ปัญหาของภาครัฐไทยต่อไป

บทความที่ใกล้เคียงกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า