
แผงโซลาร์เซลล์ SPPM 600W
หนึ่งเดียวที่ผลิตโดยแบรนด์คนไทย
มาตรฐาน ISO,IEC,CE,TIS,MIT

แผงโซลาร์เซลล์ของ Solar PPM ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโลกคือ M12 ผลิต cell ขนาด 210 mm ซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่ที่สุด ณ ตอนนี้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการผลิต cell ขนาดเดิม ที่ใช้เทคโนโลยีผลิตขนาดเซลล์เพียง 185 mm ทำให้แผงมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ยาวนานตลอด 25 ปี
จะช่วยประหยัดข้อต่อ และ connector อื่นๆ รวมถึงประหยัดสายไฟที่ใช้ในการติดตั้งลดลงถึง 60%

ส่วนประกอบหลักของแผงโซล่าเซลล์
1. เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cells)
- ทำจากวัสดุ ซิลิคอน (Silicon) เป็นหลัก
- ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงแดดให้เป็นพลังงานไฟฟ้า (ไฟฟ้ากระแสตรง DC)
2. กระจกด้านหน้า (Glass Cover)
- เป็นกระจกนิรภัยชนิดพิเศษ (Tempered Glass)
- ป้องกันฝุ่น ฝน ลูกเห็บ แต่ยังให้แสงผ่านได้ดี
- ช่วยยืดอายุการใช้งานของแผง
3. แผ่น EVA (Ethylene Vinyl Acetate)
- วัสดุโปร่งแสงที่ห่อหุ้มเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ทั้งด้านหน้าและหลัง
- ช่วยยึดเซลล์ให้อยู่กับที่และป้องกันความชื้นหรือแรงกระแทก
4. แผ่นหลัง (Backsheet)
- วัสดุโพลีเมอร์ที่อยู่ด้านหลังสุดของแผง
- ป้องกันความชื้นและฝุ่นจากด้านหลัง
- มักเป็นสีขาวหรือดำ
- โครงรอบแผง ทำจากอลูมิเนียม
- ให้ความแข็งแรง ติดตั้งง่าย และช่วยป้องกันแรงดันหรืองอของแผง
6. กล่องจ่ายไฟ (Junction Box)
- อยู่ด้านหลังแผง
- เป็นจุดรวมสายไฟจากเซลล์ พร้อมไดโอดป้องกันกระแสย้อนกลับ
- มีขั้วต่อสายไฟสำหรับเชื่อมกับระบบภายนอก

ชนิดของแผงโซล่าเซลล์มีกี่แบบ
แผงโซล่าเซลล์แบ่งออกเป็น 3 แบบหลักที่นิยมใช้ในปัจจุุบัน ซึ่งมีคุณสมบัติ และการใช้งานที่ต่างกันออกไป
1. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) สังเกตค่อนข้างง่ายกว่าชนิดอื่น เพราะจะเห็นแต่ละเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้มกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่น
ข้อดีชนิด โมโนคริสตัลไลน์
- มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจากซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 19-23%
- มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์
- มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป
- ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าชนิดโพลีคริสตัลไลน์ เมื่ออยู่ในภาวะแสงน้อย
ข้อเสียชนิด โมโนคริสตัลไลน์
- เป็นชนิดที่มีราคาแพงที่สุด
2. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
เป็นแผงโซล่าเซลล์ชนิดแรก ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีของแผงจะออก น้ำเงิน ไม่เข้มมาก
ข้อดีชนิด โพลีคริสตัลไลน์
- มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
- มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่อุณหภูมิสูง
- มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์
ข้อเสียชนิด โพลีคริสตัลไลน์
- มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสง เป็นกระแสไฟฟ้า เฉลี่ยอยู่ที่ 13-18% ซึ่งต่ำกว่า เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์
- มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่า ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ ในกรณีถ้ามีความเข้มน้อย
- สิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ
3. แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิลม์บาง(Thin Film Solar Cells)
คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น จึงเรียกโซลาร์เซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบางหรือ thin film แผ่นชนิดนี้มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาฉาบ
ข้อดีชนิด ฟิลม์บาง
- แผงโซล่าเซลล์มีราคาถูกที่สุด เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน
ข้อเสียชนิด ฟิลม์บาง
- แผงโซล่าเซลล์มีประสิทธิภาพต่ำ
- สิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ
- ไม่เหมาะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน และโรงงาน
- การรับประกันสั้นกว่าชนิด ผลึกซิลิคอน
แผงโซล่าเซลล์แบบ N-type และ P-type
แผงโซล่าเซลล์แบบ P-type
เป็นประเภทของแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีสารกึ่งตัวนำชนิด P (Positive) เป็นฐานหลัก โดยเซลล์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยการเติมสารโบรอน (Boron) ลงในซิลิคอนบริสุทธิ์ ทำให้เกิดการขาดอิเล็กตรอนหรือที่เรียกว่า “โฮล” (Hole) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ให้ประจุหลัก มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานสูงสุดประมาณ 23.6% แผง P-type มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เนื่องจากกระบวนการผลิตที่เรียบง่ายและมีการพัฒนามายาวนาน
แผงโซล่าเซลล์แบบ N-type
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีฐานเป็นซิลิคอนชนิด N (Negative) ซึ่งได้รับการเติมสารฟอสฟอรัส (Phosphorus) เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนอิสระ ทำให้มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าแผงชนิด P-type มีประสิทธิภาพการแปลงพลังงานสูงสุดประมาณ 25.7% ด้วยความต้านทานต่อ LID และโครงสร้างที่เสถียร แผง N-type มักมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแผง P-type
แผงโซล่าเซลล์เอาไปใช้งานกับอะไรได้บ้าง
1. นำไปใช้ติดตั้งบ้าน
ผู้คนส่วนใหญ่นิยมติดตั้งระบบออนกริด (Ongrid) เพราะระบบโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ในช่วงกลางวันทำให้ตอนกลางคืนยังต้องใช้ไฟจากการไฟฟ้าอยู่ ถึงแม้ในปัจจุบันผู้คนจะเริ่มให้ความสนใจระบบไฮบริด (HybridX) แต่ด้วยราคาของแบตเตอรี่ที่สูงใช้เวลาคืนทุนนานจึงไม่คุ้มค่า
2. นำไปติดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
การติดตั้งโซล่าเซลล์ในโรงงานอุตสาหกรรม นิยมติดตั้งระบบออนกริด (Ongrid) แต่ระบบไฮบริด (HybridX) ในปัจจุบันก็เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเพราะราคาแบตเตอรี่ที่ถูกลง ทำให้มีความคุ้มค่าต่ออุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าทั้งกลางวันและกลางคืน ถือเป็นเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เพราช่วยลดค่าไฟได้สูงถึง 60% ส่งผลต่อการลดต้นทุน ในปัจจุบันทางภาครัฐให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาดเป็นอย่างมากทั้งในเรื่องกฏหมายและการสนับสนุน
3. ใช้กับการเกษตร
ในประเทศไทยเกษตรนิยมนำใช้บาดาล ระบบรดน้ำอัตโนมัติ หรือปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ นอกจากนี้ผู้ที่มีความชำนาญก้จะนำไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์
4. แอร์โซล่าเซลล์
เป็นการใช้งานแบบระบบออฟกริด (off grid) ซึ่งจะเหมาะมากๆ กับผู้ต้องการเปิดแอร์ในช่วงเวลากลางวัน เช่น คาร์เฟ่ ร้านอาหาร

แผงโซล่าเซลล์ Solar PPM แบรนด์คนไทย 100%
Solar PPM เป็นโรงงานผลิตแผงโซลาร์เซลล์ OEM แบรนด์ระดับโลก มาตรฐาน Tier 1 เช่น Trina Solar ,Canadian Solar , JA SOLAR และอีกหลายแบรนด์ ซึ่งได้รับการจัดอันดับ โดยสถาบันสื่อด้านธุรกิจระดับโลกอย่าง Bloomberg หลังจากที่เราเป็นโรงงานผลิตแบบ OEM จนมีความเชี่ยวชาญ เราจึงได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นแผงของเราเอง ยี่ห้อ Solar PPM และได้รับมาตรฐานมากมายในประเทศไทย เช่นมาตรฐาน มอก., MADE IN THAILAND, และมาตรฐานระดับสากล เช่น IEC, ISO, และ UL แผงโซลาเซลล์ของเราเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโลก ณ ตอนนี้ หรือที่คนในวงการเรียกว่า “G12” เทียบเท่ากับแผงโซลาเซลล์ชั้นนํา ระดับโลก
SPPM 450W mono-facial
SPPM 450W high volt
SPPM 600W bi-facial double glass
SPPM 600W high volt
SPPM 610W bi-facial double glass
SPPM 700W bi-facial double glass
สรุป
ในปัจจุบันแผงโซลาร์เซลล์มีหลายรุ่นหลายขนาด ซึ่งการเลือกใช้งานก็ต้องดูความเหมาะสมของคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่นำมาใช้ร่วมกัน และที่สำคัญการเลือกแผงโซล่าเซลล์ต้องเป็นแบรนด์ที่ได้รับมาตรฐานทั้งในและต่างประเทศ เมื่อเกิดปัญหาสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วตัวอย่างเช่นแบรนด์ Solar PPM ของเรา