ติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องรู้อะไรบ้าง คุ้มค่าไหม?

การติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตและธุรกิจ จากสภาวะโลกร้อนทำให้รัฐบาลเกิดมาตรการ ให้ภาคธุรกิจใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งของโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งในเรื่องของการลด CO2, ลดค่าไฟ, ลดภาษี BOI และอื่นๆ ที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจของคุณ เราจะมานำเสนอข้อมูลให้คุณได้รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการติดตั้ง ดังนี้

ประเภทของระบบโซล่าเซลล์

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าระบบโซล่าเซลล์มีหลายประเภท แต่ละประเภทก็เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ตามพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า

1.ติดตั้งโซล่าเซลล์ออนกริด


โซล่าเซลล์ระบบออนกริดเป็นระบบที่เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) หรือการไฟฟ้านครหลวง (MEA) เมื่อผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าที่ใช้ จะสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินกลับไปยังการไฟฟ้าได้ และในช่วงที่ระบบโซลาร์เซลล์เกิดปัญหา ก็สามารถซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ได้ตามปกติ

2. ติดตั้งโซล่าเซลล์ออฟกริด


โซล่าเซลล์ระบบออฟกริดเป็นระบบที่ไม่ต้องเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง หรือต้องการใช้ไฟฟ้าสำรองในยามฉุกเฉิน ระบบนี้จะใช้แบตเตอรี่ในการสำรองกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ เพื่อนำมาใช้ในภายหลัง

3. ติดตั้งโซล่าเซลล์ไฮบริด


โซลาร์เซลล์ระบบไฮบริดเป็นการผสมผสานระหว่างระบบออนกริดและออฟกริด โดยมีทั้งการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าและมีแบตเตอรี่สำรอง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคงในการใช้ไฟฟ้าสูงสุด

ข้อมูลเพิ่มเติม : ระบบ On-grid ระบบ Off grid และ ระบบ Hybrid การทำงานต่างกันอย่างไร? 

ประเภทของการติดตั้งโซลาร์เซลล์

การติดตั้งโซล่าเซลล์มีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน มาดูกันว่ามีรูปแบบการติดตั้งแบบไหนบ้าง

1. ติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา & อาคาร (solar rooftop) 

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาหรือผนังของอาคาร วิศวกรจะทำการสำรวจพื้นที่และออกแบบระบบให้เหมาะสมกับขนาดและรูปแบบของอาคาร เป็นที่นิยมเนื่องจากเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์

2. ติดตั้งโซล่าเซลล์ลอยน้ำ (solar floating) 

การนำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งบนโครงสร้างที่ลอยน้ำ เช่น ทุ่น หรือแพ ซึ่งจะลอยอยู่บนผิวน้ำของแหล่งน้ำต่างๆ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ หรือทะเลสาบ เนื่องจากพื้นที่บนบกมีจำกัด การนำพื้นที่น้ำมาใช้ในการผลิตพลังงานจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากน้ำช่วยระบายความร้อนให้กับแผงโซล่าเซลล์ ทำให้แผงโซล่าเซลล์ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ติดตั้งโซล่าฟาร์ม (solar farm)

การติดตั้งโซล่าเซลล์บนพื้นดินในพื้นที่โล่งกว้างเพื่อรับแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่ นิยมทำโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ 

4. ติดตั้งโซล่าหลังคาจอดรถ (solar carport) 

การใช้พื้นหลังคาโรงจอดรถให้เกิดประโยชน์ โดยมีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาของโรงจอดรถ 

ติดตั้งโซล่าเซลล์โครงการบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา

อุปกรณ์ที่ใช้ในงานติดตั้ง

การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หลากหลายชนิด เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยอุปกรณ์หลักๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง ได้แก่ 

1. แผงโซล่าเซลล์ 

โดยมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสีย และเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันไป

2. อินเวอร์เตอร์ (inverter) 

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าตรง (Direct Current: DC) ให้เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ (Alternating Current: AC) โดยทั่วไปแล้ว พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์จะเป็นกระแสตรง ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรง จึงต้องใช้อินเวอร์เตอร์ในการแปลงให้เป็นกระแสสลับที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป อินเวอร์เตอร์มีให้เลือกตามการใช้งาน 

3. เม้าติ้ง (mounting) 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการยึดติดแผงโซลาร์เซลล์ให้ติดตั้งกับพื้นผิวต่างๆ เช่น หลังคา อาคาร โครงสร้างเหล็ก หรือพื้นดิน เพื่อให้แผงโซล่าเซลล์อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการรับแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุด

4. อุปกรณ์สายไฟและอื่นๆ

7 ขั้นตอนติดตั้งโซล่าเซลล์

  1. ปรึกษาขอคำแนะนำติดตั้งโซล่าเซลล์ 
  2. สำรวจหน้างานและวิเคราะห์โครงสร้างระบบโซล่าเซลล์
  3. ออกแบบทางวิศวกรรม
  4. วิเคราะห์จุดคุ้มทุนของระบบโซล่าเซลล์
  5. เซ็นสัญญาและเริ่มงานติดตั้ง
  6. ดำเนินการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์

การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ในประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัย และให้ได้การสนับสนุนจากภาครัฐ ดังนี้

  1. โรงงานอุตสาหกรรมต้องขออนุญาตขยาย รง.4 คือการขยายโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ผลิต เพิ่มกำลังการผลิต หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ล้วนต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในประเทศไทย คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ฉบับใหม่ที่ครอบคลุมการขยายตัวดังกล่าว
  2. ติดตั้งโซล่าเซลล์ ช่วยลดหย่อนภาษีได้ 50% จาการขอ BOI ไม่เพียงแต่เป็นการช่วยลดค่าไฟฟ้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการลงทุนที่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อีกด้วย โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 50% ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่น่าสนใจสำหรับทั้งผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป
  3. บำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์รายปี  ซึ่ง Solar PPM มีความเชี่ยวชาญ การให้บริการ O&M (Operation & Maintenance) หรือการดูแลรักษาระบบโซล่าเซลล์ ทั้งเช็คอุปกรณ์ ล้างแผงโซล่าเซลล์ thermal drone

ประเภทของการลงทุนระบบโซล่าเซลล์

การลงทุนระบบโซลาร์เซลล์มีหลากหลายแบบรูปแบบให้เลือก เพื่อเลือกแบบที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของคุณในการติดตั้ง

1. เลือกติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ PPA  (Power Purchase Agreement)

PPA เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ PPA ถือเป็นโมเดลพลังงานแบบใหม่ที่เพิ่มอำนาจให้กับภาคธุรกิจหรือบริษัทที่ต้องการผลิตไฟฟ้าจากระบบโซลาร์ไว้ใช้เอง แต่ไม่ได้ต้องการลงทุนตัวระบบฯ ด้วยตัวเอง ซึ่งจะมีบริษัทผู้ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์จะเป็นผู้ลงทุนให้ ทั้งในตัวอุปกรณ์ การติดตั้ง รวมถึงการดูแลรักษาระบบฯ ให้ฟรีทั้งหมด โดยบริษัทที่เข้าร่วมโครงการโมเดลนี้จะจ่ายแค่เพียงไฟฟ้า (ที่ผลิตจากแผงโซลาร์) เป็นรายเดือนตามระยะสัญญาต่อกันเพียงเท่านั้น โดยอัตราไฟฟ้าจะคิดตามหน่วยที่ใช้ในอัตราต่อหน่วยต่ำกว่าการไฟฟ้า

2. เลือกติดตั้งโซล่าเซลล์แบบ EPC (Engineering, Procurement, and Construction)

EPC คือการให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบเบ็ดเสร็จ (Turn-Key) ทั้งด้านการออกแบบทางวิศวกรรม การติดตั้งโครงสร้างระบบโซลาร์เซลล์ หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ทางบริษัทลูกค้าเป็นผู้ลงทุนระบบเอง การขออนุญาตโครงการ ในรูปแบบของ on grid , Hybrid หรือ Off grid ตามแต่ที่ตกลงกัน 

Top 3  คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดตั้งโซล่าเซลล์

1.  ติดตั้งโซล่าเซลล์ คุ้มไหม?

ตอบ บอกได้เลยว่าคุ้มค่าแน่นอนเพราะใช้เวลาคืนทุนเพียง 3-5 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมี BOI ช่วยลดภาษีธุรกิจ อีก 50% ซึ่งสามารถดูวิธีการคำนวณเพิ่มได้ ที่นี่

2.  ติดตั้งโซล่าเซลล์ บริษัทไหนดี?

ตอบ แน่นอนต้องเป็น Solar PPM อยู่แล้ว  เพราะเราให้บริการตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ มีโรงงานผลิตและประกอบแผงโซลาร์เซลล์อยู่ที่ชลบุรี ดูแลระบบติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร มีผลงานการติดตั้งมากมายจากองค์ชั้นนำเช่น เซ็นทรัลพัฒนา, CCL, DENSO และอื่น ๆ

3.  ติดตั้งโซล่าเซลล์ โรงงาน ดีไหม?

ตอบ ดีแน่นอนเพราะนอกจากจะช่วยลดค่าไฟและ CO2 แล้วยังมี BOI ช่วยลดภาษีธุรกิจสูงถึง 50 % แถมยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์จากการเป็นธุรกิจสีเขียว

สรุป การติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นสิ่งจำเป็นในอนาคตเพราะเป็นพลังงานที่มีอย่างไม่จำกัด หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้ประกาศเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน Net zero องค์ชั้นนำในประเทศไทยจึงมีการปรับตัวตามนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนธุรกิจสีเขียว และยังได้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย

บทความที่ใกล้เคียงกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า