Blog

แผงโซลาร์ มอก. แตกต่างจากแผงโซลาร์อื่นๆ อย่างไร?

แผงโซลาร์เซลล์ มาตรฐาน มอก. แตกต่างจากแผงโซลาร์เซลล์อื่นๆ อย่างไร ?

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญทางด้านพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดตามเทรนด์รักษ์โลกกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากพลังงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกหลักที่ทั่วโลกเลือกใช้และมีต้นทุนในการผลิตพลังงานที่ราคาถูกที่สุดในปัจจุบัน

หนึ่งในอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดของระบบโซลาร์เซลล์นั้นก็คือ ตัวแผงโซลาร์นั้นเอง วันนี้ทางทีมงาน Solar PPM จะพาทุกท่านไปรู้จักแผงโซลาร์เซลล์ ที่ได้รับมาตราฐาน มอก. ว่าคืออะไรและมีความสำคัญในการนำไปใช้ในประเภทงานใดบ้าง

มอก. คืออะไร?

            มอก.ย่อมาจาก “มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม” (Thai Industrial Standard) หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด สินค้าที่กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบัน ครอบคลุมสินค้าที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ยานพาหนะ, วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น สรุปคือต้องเป็นสินค้าที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา

 

แผงโซลาร์ มอก.  ต่างจากแผงฯ อื่นๆ อย่างไร ?

           แผงโซลาร์เซลล์ มอก. นั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกไซส์งานติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เหมือนแผงชนิดอื่นๆทั่วไปเลย ไม่ว่าจะเป็นงานเอกชนรวมถึงอาคารบ้านเรือนทั่วไป แต่จะมีความพิเศษเฉพาะสำหรับการติดตั้งงานภาครัฐในประเทศไทย ที่มักข้อกำหนดเฉพาะ(TOR) ระบุถึงคุณภาพและมาตรฐาน ว่าในการเข้าประมูลงานโครงการนั้นๆ จะต้องใช้แผงโซลาร์ที่ผ่านการรับรองมาตราฐานอุตสาหกรรม มอก. จากหน่วยงานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นต้น

            ส่วนแผงโซลาร์ชนิดอื่นๆ เช่น แผงผลิตในไทย หรือแผงนำเข้าจากต่างประเทศ และแผง Tier 1 เป็นต้น ก็เป็นแผงโซลาร์ที่นิยมมาใช้งานโดยทั่วไปเหมือนกันตามความต้องการและงบประมาณของผู้ติดตั้ง แต่มีความแตกต่างตรงที่ว่าตัวแผงเหล่านั้นไม่ได้เป็นแผงโซลาร์ได้รับการรับรอง มอก. เพียงเท่านั้นเอง ดังนั้นในแง่การนำมาใช้ในภาครัฐไม่อาจจะนำมาใช้ได้นั้นเอง

 

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับแผงโซลาร์ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีไรบ้าง

             โซลาร์เซลล์และส่วนประกอบจำเป็นต้องมีมาตรฐาน เพื่อควบคุมประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้านการใช้งาน โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ของไทย ซึ่งอุปกรณ์และส่วนประกอบทั้งภายในและภายนอกของแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะต้องผ่านการทดสอบด้านความปลอดภัยพื้นฐานและการทดสอบเพิ่มเติมที่เป็นฟังก์ชั่นการใช้งานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์         ทั้งนี้ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์หรือสินค้าโซลาร์เซลล์และส่วนประกอบที่ทาง สมอ. ได้มีการกำหนดให้มีการใช้งานในไทยนั้น มีทั้งมาตรฐานทั่วไป มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส และมาตรฐานสากล โดยมีรายละเอียดดังนี้

             1.มาตรฐานทั่วไป ตัวอย่างเช่น มอก. 2210-2555 (มอก. แผงเซลล์แสงอาทิตย์ภาคพื้นดินชนิดฟิล์มบาง-คุณสมบัติการออกแบบและรับรองแบบ) มอก. 2606-2557 (มอก. ระบบเซลล์แสงอาทิตย์–ลักษณะของการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า) มอก.2607-2563 (มอก. อินเวอร์เตอร์ที่ใช้กับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่เชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ขั้นตอนการทดสอบระบบป้องกันการจ่ายไฟฟ้า ขณะไฟฟ้าดับ) เป็นต้น

            2) มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.S) สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส ได้แก่ มอก. เอส 176-2564 สำหรับการให้บริการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมาตรฐานฉบับนี้จะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการจัดการคุณภาพการบริการเพื่อใช้ในการรับรองผู้ประกอบการและยกระดับการบริการให้มีคุณภาพที่ดี

             3) มาตรฐานสากล ปัจจุบันหน่วยงานด้านมาตรฐานสากลอย่าง International Electro Committee (IEC) ได้มีการออกมาตรฐานเกี่ยวกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์และส่วนประกอบ เพื่อใช้สำหรับทดสอบประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและประเมินผลทางด้านความปลอดภัยของเซลล์แสงอาทิตย์ โดยมาตรฐานโซลาร์เซลล์ของ IEC ที่ทางสมอ. ได้นำมาปรับเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย (มอก.) เช่น 1) IEC 61515 Crystalline Silicon Terrestrial Photovoltaic (PV) Modules-Design Qualifcation and Type Approval หรือ มอก. 1843 2) IEC 61646 Thin-Film Terrestrail Photovoltaic (PV) ModulesDesign Qualification and Type Approval หรือ มอก. 2210 และ 3) การทดสอบมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า: ระบบจ่ายแรงดันไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตามมาตรฐาน IEC 60364-7-712 เป็นต้น

Credit : mreport.co.th

             หากท่านข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแผงโซลาร์เซลล์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ มารู้จักแผงโซลาร์ กันเถอะ

             หรือสนใจเลือกซื้อแผงโซลาร์เซลล์ มอก. ของทาง Solar PPM ท่านสามารถเลือกชมสินค้าได้ที่ บริการของเรา   หรือโทรศัพท์ : 02 628 6100 ต่อ 741  และโทรศัพท์มือถือ : 065 205 9873,084-296-4922

n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save