Blog

เตรียมตัว! 4 เดือนสุดท้ายของปี กกพ. จ่อขึ้นค่าไฟ

ค่าไฟแพง

แนวโน้มค่าไฟแพง เดือนกันยายน - ธันวาคม 2467 เพิ่มขึ้นเป็น 4.65-6.01 บาทต่อหน่วย

กกพ.เปิดรับฟังความเห็น 3 แนวทางค่าเอฟทีงวดปลายปี ส่งผลดันค่าไฟเดือน ก.ย.-ธ.ค.เพิ่มขึ้นเป็น 4.65 – 6.01 บาทต่อหน่วย

วันนี้ (12 ก.ค.2567) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เคาะ 3 ทางเลือกปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) งวดปลายปี หลังจากมีการประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา พิจารณาอัตราค่า Ft งวดปลายปี (ก.ย.-ธ.ค.2567) พบว่า ต้นทุนค่าไฟจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณหน่วยละ 46-182 สตางค์ต่อหน่วย

สาเหตุมากจากหลายปัจจัย เช่น กกพ.ต้องทยอยคืนชำระหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (98,000 ล้านบาท), เงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่องกระทบราคาซื้อก๊าซธรรมชาติ และแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติสูงขึ้นจากความต้องการใช้ในช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้หากนำต้นทุนและการคืนภาระหนี้ให้กับ กฟผ.มาคำนวณและรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ค่าไฟงวดปลายปีเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 – 6.01 บาทต่อหน่วย จากค่าไฟงวดก่อนหน้าอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย

นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการ กกพ. ในฐานะโฆษก กกพ. แถลงยื่นข้อเสนอ 3 ทางเลือก เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในงวดปลายปี ประกอบด้วย การขึ้นค่าไฟฟ้าไม่มากและทยอยคืนหนี้ กฟผ.เพียงเล็กน้อย ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย, ขึ้นค่าไฟฟ้าพร้อมกับคืนหนี้ กฟผ.บางส่วน ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย และขึ้นค่าไฟฟ้าสูงสุดตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อคืนหนี้ให้ กฟผ.เต็มวงเงิน ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย

ซึ่งหลังจากนี้จะเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก่อนประกาศผลการพิจารณาในช่วงสิ้นเดือน ก.ค.นี้ เพื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ต้องประกาศค่าไฟรอบใหม่ล่วงหน้า 1 เดือน

ขณะที่ รศ.ธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองเรื่องการพิจารณาปรับขึ้นค่าไฟรอบใหม่ ว่า ขณะนี้ประชาชนยังมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่าย หากค่าไฟ ค่าพลังงาน ราคาสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น จะยิ่งทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย มีผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมทำให้ฟื้นตัวช้า

ด้านนายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เข้าใจได้ว่าค่าไฟเพิ่มขึ้นมาจากหลายปัจจัย แต่ภาคเอกชนมองว่าในครึ่งปีหลังปริมาณการใช้จริงไม่น่าจะสูงขึ้นมาก เนื่องจากปัญหาสงครามความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ไม่รุนแรงตามที่คาดจนส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานสูงขึ้น จึงไม่ควรไปตั้งราคาไว้สูงขนาดนั้น ทั้งนี้หากมีการปรับขึ้นค่าไฟจริงจะยิ่งซ้ำเติมต้นทุน รวมไปถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันย่ำแย่อยู่แล้ว และจะทำให้นักลงทุนหนี้ไปประเทศอื่นแทน

อย่างไรก็ตามต้องจับตาอีก 1 แนวทาง คือการตรึงราคาค่าไฟฟ้าไว้ที่ระดับ 4.18 บาทต่อหน่วยเช่นเดิม ซึ่งขึ้นกับอยู่กับ รมว.พลังงาน จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางและอาจนำเข้า ครม.เพื่อของบประมาณจากรัฐบาลมาสนับสนุน

ที่มา : Thai PBS

n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save