Blog

ความแตกต่างของ Micro Inverter vs String Inverter

STRING INVERTER VS MICRO INVERTER

Micro Inverter vs String Inverter ต่างกันอย่างไร?

INFO string & micro inverter

Micro Inverter (ไมโคร อินเวอร์เตอร์)

Micro Inverter คืออินเวอร์เตอร์ที่มีการแยกทำงานเป็นรายแผง และติดตั้งไว้ใต้แผงโซลาร์เซลล์

ข้อดี

-ใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำ ทั้งระบบประมาณ 40 VDC ทำให้ไม่เสี่ยงไฟดูด ไฟไฟม้ หรือไฟลัดวงจร

-ได้มาตรฐาน IP67 สามารถกันฝุ่นได้ 100% และกันน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถกันน้ำ 1 เมตรได้ 30 นาที จึงหมดห่วงเรื่องฝน

-ทนทานที่อุณหภูมิต่ำสุดที่ -40 องศา สูงสุด 65 องศา และมีระบบคูลดาวน์และรีบูสท์ใหม่ หากมีความร้อนเกินลิมิต

-ติดตั้งง่าย สามารถติดตั้งใต้แผงโซลาร์เซลล์ได้เลย ไม่ต้องมีห้องควบคุม หรือมีสายระโยงระยางให้เกะกะ

-แยกการทำงานเป็นรายแผง หากแผงใดแผงหนึ่งขัดข้องหรือมีเงาบัง แผงอื่นๆก็ยังคงทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

-ทำความสะอาดง่าย ไม่ต้องตัดไฟ ไม่ต้องปิดทั้งระบบ

-มี application สามารถดูผลประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้แบบ real time เป็นรายแผง

-มี rapid shutdown ในตัว ซึ่งจะมีฟังก์ชั่นป้องกันฟ้าผ่าอย่างเบา

-มีรับประกัน 12 ปี หากเสียหายหรือชำรุด สามารถเปลี่ยนอินเวอร์เตอร์ตัวใหม่ให้ได้

ข้อเสีย

-ต้องขึ้นไปซ่อมบำรุงอินเวอร์เตอร์ทุกครั้งที่เสียหาย

-มีโอกาสชำรุดหรือเสียหายได้ง่าย เนื่องจากอยู่ใต้แผงโซลาร์เซลล์โดยตรง ทำให้เจอความร้อนสะสมได้มากกว่า 

-ราคาสูง

 

String Inverter (สตริง อินเวอร์เตอร์)

String Inverter คืออินเวอร์เตอร์ที่แปลงกระแสไฟฟ้าทั้งสตริงของระบบโซลาร์เซลล์

ข้อดี

-ราคาถูก

-เหมาะกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์โรงงานอุตสาหกรรม 

-บำรุงรักษาง่าย หากเสียหายที่อินเวอร์เตอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นไปบนหลังคาทุกครั้ง

ข้อเสีย

แผงเสียหนึ่งแผง จะต้องปิดระบบ อาจส่งผลให้ทั้งระบบมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของสตริงนั้นลดลง

STRING INVERTER VS MICRO INVERTER
n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save