Blog

ติดตั้งโซลาร์เซลล์คุ้มค่ากับเงินลงทุนมั้ย?

จุดคุ้มทุนโซลาร์เซลล์

หลายคนมีความสงสัยว่าติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วจะคุ้มค่าหรือไม่ แล้วจะคิดยังไงว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม วันนี้ Solar PPM มีวิธีการคำนวณจุดคุ้มทุนโซล่าเซลล์คร่าวๆมาแนะนำกันค่ะ

วิธีคำนวณจุดคุ้มทุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีวิธีคิดดังต่อไปนี้

1.คำนวณขนาดการติดตั้งโซลาร์เซลล์จากการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด*

(แต่ละธุรกิจโรงงาน จะมีขนาดการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้า ชั่วโมงการทำงาน และอื่นๆประกอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของ Solar PPM สามารถให้คำแนะนำได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย)

โดยขอยกตัวอย่างการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 300 kWp ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 300,000W

2.คำนวณค่าใช้จ่ายหรือมูลค่าการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์*

(แต่ละธุรกิจโรงงาน จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดการติดตั้ง รูปแบบในการติดตั้ง โครงสร้างหลังคา และอื่นๆ)

โดยขอยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโซล่าเซลล์ 25 บาทต่อวัตต์ (baht/W)

ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเท่ากับ 300,000W X 25 baht/W = 7,500,000 บาท

3.คำนวณปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์

โดยคิดจากขนาดการติดตั้ง (kWp) ในที่นี้คือ 300 kWp  x =ชั่วโมงแดดที่โซลาร์เซลล์สามารถผลิตได้

ทั้งนี้จากปริมาณแสงแดดตลอดทั้งวัน ที่ไม่ได้มีแสงแดดตลอดเวลา จึงคำนวณจาก “จำนวนชั่วโมงแดดคงที่”  ซึ่งเท่ากับ 4 ชั่วโมงต่อวัน

ดังนั้นจึงคำนวณได้เท่ากับ 300 kWp x 4 = 1,200 kWh

4.คำนวณการประหยัดค่าไฟฟ้าจากระบบโซลาร์เซลล์

โดยคิดจากหน่วยไฟฟ้า = 1 kWh

1 kWh = 5.09 บาท/หน่วย  (ตามราคาค่าไฟล่าสุด เดือนสิงหาคม 2566)

คำนวณได้เป็น 1,200 kWh x 5.09 บาท/หน่วย = 6,108 บาท/วัน

และใน 1 ปี มีทั้งหมด 365 วัน

คิดได้เป็น โซลาร์เซลล์จะช่วยประหยัดไฟได้ 6,108 x 365 = 2,229,420 บาท/ปี

ซึ่งถ้าหากมีการหักค่าใช้จ่ายจากการดูแลรักษาระบบโซลาร์เซลล์ หรือที่เราเรียกกันว่า O&M (Operation & Maintenance) 

รายปีประมาณปีละ 200,000 บาท/ปี * (แต่ละธุรกิจโรงงาน ค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดการติดตั้ง ฯลฯ)

ดังนั้น โซล่าเซลล์จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 2,229,420- 200,000 = 2,029,420 บาท/ปี

5.จุดคุ้มทุนของการติดตั้งโซลาร์เซลล์

ยกตัวอย่างการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 300 kWp  คิดเป็นมูลค่าการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ เท่ากับ 7,500,000 บาท

ประหยัดค่าไฟ ยุคค่าไฟแพง จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ 2,029,420 บาท/ปี

ดังนั้นจะคืนทุนภายใน 7,500,000/2,029,420 = 3.69 ปี

และการติดตั้งโซล่าเซลล์มีอายุยาวนาน 25 ปี

จึงทำให้ได้กำไรจากการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปอีก 25-3.69 = 21.31 ปี

6.ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI (Board of investment)

 หากโรงงานได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

จะทำให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้รับการลดหย่อนภาษีถึง 50% ของมูลค่าโครงการ โดยสามารถใช้สิทธิได้ภายใน 3 ปี

จากตัวอย่างมูลการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 300 kWp เท่ากับ 7,500,000 บาท

จะได้ลดหย่อนภาษี  = 7,500,000 x 50% = 3,750,000 บาท

คิดง่ายๆเป็นส่วนลดโครงการนี้ หมายความว่ามูลค่าการลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์จะเท่ากับ 7,500,000 – 3,750,000 = 3,750,000 บาท

ดังนั้นจุดคุ้มทุนของการติดตั้งโซลาร์เซลล์จะอยู่ที่ 3,750,000 / 2,029,420 = 1.84 ปีเท่านั้น

หมายความว่าจะได้กำไรจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปถึง 25-1.84 = 23.16 ปี

หากลองนำมาคูณกับจำนวนค่าไฟที่โซลาร์เซลล์ช่วยลดให้กับธุรกิจของเราได้

จะคิดได้เป็น 2,029,420 x 23.16 = 47,001,367.2 บาท


เรียกได้ว่าติดตั้งโซลาร์เซลล์ครั้งเดียว สามารถช่วยโรงงานประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มกำไรให้ธุรกิจได้จำนวนมากเลยทีเดียว


*ทั้งนี้ เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆ หากต้องการให้เจ้าหน้าที่คำนวณให้อย่างละเอียด


สามารถปรึกษากับทาง Solar PPM ได้เลยค่ะ

Line @solarppm

n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save