Blog

รัฐบาลทั่วโลกผลักดันหารลงทุนด้านพลังงานสะอาด ท่ามกลางวิกฤตพลังงานโลก

รัฐบาลทั่วโลกผลักดันการลงทุนพลังงานสะอาด

จำนวนเงินที่รัฐบาลจัดสรรไว้สำหรับการลงทุนด้านพลังงานสะอาด (เช่น โซล่าเซลล์) เป็นจำนวนเงินเพิ่มขึ้นกว่า 1.34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ ปี 2020

ตามการอัปเดตล่าสุดของ Government Energy Spending Tracker ของ IEA มีการประกาศการใช้จ่ายสำหรับลงทุนด้านพลังงานสะอาดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 130,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นช่วงที่มีการชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 แต่เป็นเพียงการชะลอตัวชั่วคราว เนื่องจากมีการพิจารณานโยบายเพิ่มเติมจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ยุโรป และญี่ปุ่น งบประมาณการใช้จ่ายของรัฐบาลกำลังมีบทบาทสำคัญของการเติบโตอย่างรวดเร็วในการลงทุนด้านพลังงานสะอาด (เช่น โซลาร์เซลล์) และการขยายห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีพลังงานสะอาด โดยถูกกำหนดให้ขับเคลื่อนทั้งสองอย่างไปสู่จุดสูงสุดในอีกหลายปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับบรรดาผู้ผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ซึ่งในขณะนี้มีมูลค่ารวม 90 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ยังเพิ่มงบประมาณในการจัดการกับราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นทันทีสำหรับผู้บริโภค นับตั้งแต่วิกฤตพลังงานโลกที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2565 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไปกว่า 900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับมาตรการระยะสั้นสำหรับผู้บริโภค นอกเหนือจากเงินสนับสนุนที่มีอยู่แล้ว มีการประกาศงบประมาณที่สามารถใช้จ่ายได้ไปแล้วกว่า 30% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

มาตรการที่รัฐบาลออกมีบทบาทสำคัญต่อการปรับขึ้นราคาสำหรับผู้บริโภค  และวิกฤตพลังงานนี้ยังส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของผู้บริโภค จากข้อมูลล่าสุดของ IEA เกี่ยวกับราคาพลังงานโดยผู้บริโภคใน 12 ประเทศ คิดเป็นเกือบ 60% ของประชากรโลก ครัวเรือนโดยเฉลี่ยใช้จ่ายไปกับราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นในปี 2565 แซงหน้าการเติบโตของค่าจ้างเล็กน้อย โดยเฉลี่ยแล้วครัวเรือนในประเทศที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักมีการใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่ม 3%-7% ของรายได้ ทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านที่ให้ความอุ่นหรือความเย็น และใช้สำหรับทำอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมากหากเทียบกับรายได้  โดยครัวเรือนกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จึงทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานคิดเป็นไม่ถึง 1 % ของรายได้

ในขณะที่ผู้บริโภคกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะรู้สึกว่าได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากค่าน้ำมันหรือค่าเชื้อเพลิงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในค่าใช้จ่ายครัวเรือน ปี 2565 คู่กันไปกับค่าอาหาร หากปราศจากการควบคุมจากรัฐบาล สิ่งเหล่านี้ราคาจะยิ่งพุ่งขึ้นไปอีกมาก กรณีนี้เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย โดยค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในปี 2565 หากไม่ได้รับการสนับสนุน

ต้นปี 2566 แสดงให้เห็นว่าราคาขายส่งด้านพลังงานปรับตัวชะลอตัวลง แต่ราคาขายปลีกไม่น่าจะลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด (โซล่าเซลล์) สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้มากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ไฟฟ้าและปั๊มความร้อนซึ่งมียอดขายสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2565 หากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลยังราคาสูงต่อเนื่องเช่นนี้ ก็จะยิ่งเร่งการมาแทนที่ของเศรษฐกิจใหม่อันมาจากพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์,พลังงานลม และอื่นๆ ) นั่นเอง

ที่มา : www.iea.org/news

n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save