Blog

เตรียมปลดล็อค พ.ร.บ โซลาร์เซลล์ไม่ต้องขอ รง.4

เตรียมปลดล็อค พ.ร.บ โซลาร์เซลล์

เอกนัฏ เร่งทำ พ.ร.บ.โซล่าร์ ของจริงหลังปลดล็อคครัวเรือน โรงงานติดตั้งแผงโซล่าร์ไม่ต้องขออนุญาตแค่แจ้งจบ ประกาศปฎิรูปอุตสาหกรรม New s-curve ต้องผงาดเป็นตัวจับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดัน GDP 1%

เอกนัฏ

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาพิเศษในงานประจำปี สศอ. (OIE Forum) ครั้งที่ 16 “Industrial Reform : ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย

สู่เศรษฐกิจยุคใหม่” ว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทยยังคงเผชิญกับบททดสอบและความท้าทายใหม่ ๆ ของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว หรือการเปลี่ยนแปลงผู้นำของประเทศมหาอำนาจที่อาจจะสร้างความ ปั่นปวนทางเศรษฐกิจและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเติบโตของเทคโนโลยี AI ที่ก่อให้เกิดการแข่งขันและเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมแบบก้าวกระโดด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ล้วนส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทย

อย่างไรก็ดี สถานการณ์อุตสาหกรรมไทยยังมีแนวโน้มดีขึ้น สะท้อนจากภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าในปี 2568 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) และ GDP ภาคอุตสาหกรรมจะมีแนวโน้มขยายตัว 1.5 – 2.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าระหว่างประเทศของไทยกับคู่ค้าหลักที่เติบโตต่อเนื่อง รวมทั้งการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการ การลงทุนภาครัฐผ่านการลงทุนขนาดใหญ่ และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้าถึงแหล่งทุนและสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ คาดว่าจะช่วยพยุงภาวะเศรษฐกิจภาพรวมให้ดีขึ้น

“ประเทศไทยจำเป็นที่ต้องปฎิรูปอุตสาหกรรมใหม่เพื่อดึงการลงทุนและสร้างแต้มต่อให้กับประเทศ โดยต้องดึงภาคอุตสาหกรรมที่เคยเป็นเครื่องยนต์หลักให้กลับมาเป็นตัวหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นเดิม โดยต้องมีส่วนผลักดัน GDP เพิ่ม 1% โดยไม่ใช้งบประมาณของภาครัฐ ซึ่งต้องเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งสันดาป และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การสร้างอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เป็น New s-curve ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมชีวะภาพ (Bio) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และเรากำลังร่าง พรบ.โซล่าร์ หลังจากที่เราปลอดล็อคเรื่องไม่ต้องขอ รง.4 แล้ว ไม่ว่าจะเป็นครัวเรือน โรงงาน หากจะติดตั้งแต่แจ้งกับหน่วยงานเท่านั้น ซึ่งเราจะได้ทั้งไฟสะอาดและมีไฟราคาถูกลง โดยไม่ต้องผ่านการซื้อกับ กฟผ. ส่วน กฟผ. ก็ไปพัฒนาเรื่องสมาร์ทกริด”

S__53174277_0-1024x683

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสร้างโอกาสและการเติบโตให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย ภายใต้วิสัยทัศน์ “การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ผ่าน 3 ปฏิรูป 3 แนวทาง (สู้ เซฟ สร้าง) ได้แก่

1. “สู้” กับผู้ประกอบการ ที่ทำผิดกฎหมาย ทำร้ายชีวิตประชาชน บริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ คืนน้ำสะอาด แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 สร้างอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทย
2 “เซฟ” สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของภาค อุตสาหกรรม และธุรกิจSMEs สร้างโอกาส สร้างรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย
3 “สร้าง” อุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก

โดยขับเคลื่อนผ่าน 3 แนวทางสำคัญ
1. การสร้างความร่วมมือพันธมิตรห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์แบบ เช่น ปรับมาตรการและสิทธิประโยชน์ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเชื่อมโยงผู้ผลิตไทยเข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมหลักต่างๆ ของโลก
2. สร้าง Ease of Doing Business เช่น ปรับกฎหมายและภารกิจเข้าสู่ภาครัฐดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล เช่น e-License, e-Monitoring และ e-Payment
3. จัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน เน้นพัฒนาบุคลากรในสายอาชีพและอาชีวศึกษา รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่ทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัว พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพใหม่ ๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น และมุ่งสู่ “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่” ให้เติบโตบนพื้นฐานของความสมดุลและยั่งยืน โดย สศอ. เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันภาคอุตสาหกรรมของประเทศ สร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างและความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทย โดยเน้นการบูรณาการกับทุกภาคส่วน พร้อมนำแนวคิด “สู้ เซฟ สร้าง” และนโยบาย MIND ที่มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมใน 4 มิติ
ได้แก่ มิติที่ 1. การสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ
          มิติที่ 2 การส่งเสริมความอยู่ดีกับสังคม
          มิติที่ 3 ความลงตัวกับกติกาสากล
          มิติที่ 4 การกระจายรายได้สู่ชุมชนและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

แหล่งที่มาข่าว : https://www.prachachat.net/economy/news-1730798

n type

แผงโซล่าเซลล์ N-type คืออะไร?

เทคโนโลยีโซล่าเซลล์ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ หนึ่งในนวัตกรรมที่กำลังได้รับความสนใจคือ N-Type โซลาร์เซลล์ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่เหนือกว่าแผงโซล่าเซลล์อีกหลายแบบ เช่นแบบ P-Type N-Type คือ         คือเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้วัสดุเซมิคอนดักเตอร์ประเภท N-type ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีลักษณะการเติมสารโดป (doping) ด้วยธาตุที่มีอิเล็กตรอนส่วนเกินเข้าไปในวัสดุพื้นฐาน เช่น ซิลิคอน เพื่อเพิ่มจำนวนอิเล็กตรอนที่มีความเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ซึ่งทำให้การนำไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น หลักการทำงานของโซล่าเซลล์ N-Type ข้อดีของ N-Type  1. ประสิทธิภาพสูงในการแปลงพลังงาน

Read More
สัมภาษณ์ไผ่ทองไอศครีม

ไผ่ทองไอศครีม แชร์ประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริง

สวัสดีค่ะ วันนี้ Solar PPM ขอมาแชร์ประสบการณ์ที่มีโอกาสได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีมที่มีคุณภาพสูง โดยมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่ดีและคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยและแตกต่างจากไอศกรีมทั่วไปในตลาด บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเรื่องรสชาติและบริการที่ดี โดยมุ่งเน้นการผลิตไอศกรีมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแบบตู้แช่แข็งพร้อมรับประทานและแบบที่สามารถจัดจำหน่ายในร้านค้าและห้างสรรพสินค้า         บริษัทไผ่ทองไอศครีมยังคำนึงถึงนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาดและลูกค้า รวมถึงการรักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้บริโภคและสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ         ทั้งนี้ บริษัท ไผ่ทองไอศครีม จำกัด ยังได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ Solar PPM

Read More
optimizer vs rapid shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown

Optimizer vs Rapid Shutdown          ในระบบโซลาร์เซลล์ (Solar Energy System) เทคโนโลยีทั้งสองอย่าง ได้แก่ optimizer และ rapid shutdown มีบทบาทที่สำคัญในการทำงานของระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ทั้งสองมีวัตถุประสงค์และฟังก์ชันที่เหมือนกัน เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างทั้งสองและความสำคัญของแต่ละเทคโนโลยี Optimizer คืออะไร?         Optimizer (ออพติไมเซอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่ในการปรับแต่งการทำงานของแผงโซลาร์แต่ละแผงให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ เช่น

Read More
PDPA Icon
Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save