Blog

เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (CCS) อาจทำให้ค่าไฟฟ้าผู้บริโภคพุ่งสูงขึ้น

CCS อาจทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น

บริษัทโรงไฟฟ้าฟอสซิลคิดว่าจะสามารถทำโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ มีความสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน จาก Optimism bias (คิดไปเองว่าจะดี) แต่ผลกระทบค่าใช้จ่ายอาจตกอยู่ที่ผู้บริโภคมากขึ้นเช่นกัน


บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลมีความกระตือรือร้นที่จะใช้เทคโนโลยีกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้โลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่การพึ่งพาเทคโนโลยีที่เรียกว่าการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ถือเป็นความเสี่ยงที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มจะแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

โดยค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ดักจับคาร์บอนมีราคาแพงกว่าโรงไฟฟ้าทางเลือกอื่นๆ 1.5-2 เท่า ตามรายงานฉบับใหม่จากสถาบันไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อการวิเคราะห์เศรษฐกิจพลังงานและการเงิน (IEEFA) การหันไปใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมนั้นถูกกว่ามาก

กรณีทางเศรษฐกิจสำหรับ CCS ในภาคธุรกิจพลังงานนั้นอ่อนแอ เมื่อพิจารณาจากความไม่แน่นอนของต้นทุนการผลิตและการจัดหาเงินทุน ความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยี และพลังงานทางเลือกที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Christina Ng ผู้ร่วมเขียนรายงานกล่าวในการแถลงข่าวว่า "ถึงอย่างนั้น ผู้กำหนดนโยบายกลับมองว่าเป็นการลงทุนที่ยั่งยืน หรือเป็นการลงทุนที่ให้ผลกำไรดีแก่ผู้ลงทุนและนักพัฒนา CCS

เทคโนโลยีนี้จะดักจับการปล่อย Co2 ได้ก่อนที่ก๊าซจะลอยออกจากปล่องควันได้ หลังจากนั้นก๊าซเรือนกระจกก็จะถูกจัดเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ก๊าซเข้าสู่ชั้นบรรยากาศและทำให้สภาพอากาศเลวร้ายลง

บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลมักจะปั๊ม CO2 นั้นไว้ใต้ดินเพื่อเก็บ และมักจะทำในกระบวนการ enhanced oil recovery (วิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติแล้ว) เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการเพิ่มน้ำมันสำรองที่เข้าถึงได้ยาก ซึ่งบริษัทต่างๆสามารถขายเป็นน้ำมันที่มี “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon neutral) ได้ นั่นจึงทำให้ CCS เป็นที่ถกเถียงอย่างมากว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาสภาพอากาศ โดยบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อสร้างตัวเองให้เป็นฮีโร่ด้านสภาพอากาศ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะขุดเจาะน้ำมันมากขึ้นก็ตาม

รวมถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น จากการจัดเก็บ CO2 หรือการสร้างเครือข่ายท่อใหม่ 

ยกตัวอย่างการติดตั้งโรงไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี CCS ที่ออสเตรเลีย ที่ยังคงพึ่งพาถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าจำนวนมาก หากนักพัฒนาส่งต่อต้นทุนเหล่านี้ไปยังผู้บริโภค

ตามการวิเคราะห์แล้ว อาจทำให้ราคาขายส่งไฟฟ้าสูงขึ้น 95-175 เปอร์เซ็นต์

ซึ่งถ้าหากคำนวณจากต้นทุนเฉลี่ยของการผลิตไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้า เรียกว่า ค่าไฟฟ้าแบบปรับระดับ (LCOE) รายงานระบุว่า LCOE สำหรับเชื้อเพลิงฟอสซิลที่จับคู่กับ CCS นั้นสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ถ่านหิน และก๊าซแบบดั้งเดิมอย่างน้อย 1.5-2 เท่า

แน่นอนว่าการทำโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนนั้นมาพร้อมกับต้นทุนในการลงทุนเช่นกัน มีโซล่าร์ฟาร์มและกังหันลมที่สร้างและวางสายส่งใหม่ แต่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานหมุนดวียน มีราคาไม่แพงมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ โดยพลังงานแสงอาทิตย์กลายเป็นแหล่งไฟฟ้าที่ถูกที่สุดในหลายภาคส่วนของโลก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากพลังงานหมุนเวียนกลายเป็นพลังงานหลักของโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

โรงไฟฟ้าไม่กี่แห่งที่ติดตั้ง CCS จนถึงตอนนี้ก็ยังทำงานได้ไม่ดีนัก กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (DOE) สูญเสียเงินไปหลายล้านดอลลาร์ไปกับโครงการ CCS ที่ล้มเหลว รายงานปี 2021 พบว่ารัฐบาลใช้เงินกว่า  684 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนโครงการ CCS ที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน 6 แห่ง และมีเพียงแห่งเดียวที่ทำงานได้ ในขณะที่เหลือไม่เสร็จสมบูรณ์เนื่องจาก “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ” ตามรายงานของ GAO

แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่ากำลังการผลิต CCS คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น  4  เท่าทั่วโลกภายในปี 2573


ที่มา : the verge

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ Privacy Policy และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ Cookie settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า