
จำนวนเงินที่รัฐบาลจัดสรรไว้สำหรับการลงทุนด้านพลังงานสะอาด (เช่น โซล่าเซลล์) เป็นจำนวนเงินเพิ่มขึ้นกว่า 1.34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ ปี 2020
ตามการอัปเดตล่าสุดของ Government Energy Spending Tracker ของ IEA มีการประกาศการใช้จ่ายสำหรับลงทุนด้านพลังงานสะอาดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 130,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นช่วงที่มีการชะลอตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 แต่เป็นเพียงการชะลอตัวชั่วคราว เนื่องจากมีการพิจารณานโยบายเพิ่มเติมจากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ยุโรป และญี่ปุ่น งบประมาณการใช้จ่ายของรัฐบาลกำลังมีบทบาทสำคัญของการเติบโตอย่างรวดเร็วในการลงทุนด้านพลังงานสะอาด (เช่น โซลาร์เซลล์) และการขยายห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีพลังงานสะอาด โดยถูกกำหนดให้ขับเคลื่อนทั้งสองอย่างไปสู่จุดสูงสุดในอีกหลายปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับบรรดาผู้ผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ซึ่งในขณะนี้มีมูลค่ารวม 90 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ยังเพิ่มงบประมาณในการจัดการกับราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นทันทีสำหรับผู้บริโภค นับตั้งแต่วิกฤตพลังงานโลกที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2565 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณไปกว่า 900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับมาตรการระยะสั้นสำหรับผู้บริโภค นอกเหนือจากเงินสนับสนุนที่มีอยู่แล้ว มีการประกาศงบประมาณที่สามารถใช้จ่ายได้ไปแล้วกว่า 30% ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
มาตรการที่รัฐบาลออกมีบทบาทสำคัญต่อการปรับขึ้นราคาสำหรับผู้บริโภค และวิกฤตพลังงานนี้ยังส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของผู้บริโภค จากข้อมูลล่าสุดของ IEA เกี่ยวกับราคาพลังงานโดยผู้บริโภคใน 12 ประเทศ คิดเป็นเกือบ 60% ของประชากรโลก ครัวเรือนโดยเฉลี่ยใช้จ่ายไปกับราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นในปี 2565 แซงหน้าการเติบโตของค่าจ้างเล็กน้อย โดยเฉลี่ยแล้วครัวเรือนในประเทศที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักมีการใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่ม 3%-7% ของรายได้ ทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านที่ให้ความอุ่นหรือความเย็น และใช้สำหรับทำอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูงมากหากเทียบกับรายได้ โดยครัวเรือนกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จึงทำให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานคิดเป็นไม่ถึง 1 % ของรายได้
ในขณะที่ผู้บริโภคกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะรู้สึกว่าได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากค่าน้ำมันหรือค่าเชื้อเพลิงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในค่าใช้จ่ายครัวเรือน ปี 2565 คู่กันไปกับค่าอาหาร หากปราศจากการควบคุมจากรัฐบาล สิ่งเหล่านี้ราคาจะยิ่งพุ่งขึ้นไปอีกมาก กรณีนี้เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย โดยค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในครัวเรือนเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในปี 2565 หากไม่ได้รับการสนับสนุน
ต้นปี 2566 แสดงให้เห็นว่าราคาขายส่งด้านพลังงานปรับตัวชะลอตัวลง แต่ราคาขายปลีกไม่น่าจะลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด (โซล่าเซลล์) สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ไฟฟ้าและปั๊มความร้อนซึ่งมียอดขายสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2565 หากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลยังราคาสูงต่อเนื่องเช่นนี้ ก็จะยิ่งเร่งการมาแทนที่ของเศรษฐกิจใหม่อันมาจากพลังงานสะอาด (พลังงานแสงอาทิตย์,พลังงานลม และอื่นๆ ) นั่นเอง
ที่มา : www.iea.org/news